โครงการทางพิเศษสายพระราม 3 - ดาวคะนอง - วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 1
 

รายละเอียดโครงการ

วัตถุประสงค์โครงการ
    เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายทางพิเศษให้สามารถรองรับการเดินทางระหว่างพื้นที่ชั้นนอก และพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยแบ่งเบาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนพระรามที่ 2 และทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงบางโคล่ – ดาวคะนอง อีกทั้งเป็นเส้นทางที่ใช้ในการเดินทางและการขนส่งสินค้าในกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติและเหตุฉุกเฉิน เช่น เหตุการณ์อุทกภัย เป็นต้น

เส้นทาง
    จุดเริ่มต้นโครงการเชื่อมต่อกับโครงการทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี - ปากท่อ) หรือถนนพระรามที่ 2 มีทางขึ้น - ลงบริเวณ กม. 13+100 เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร (ทิศทางละ 3 ช่องจราจร) ไปตามแนวเกาะกลางถนนพระรามที่ 2 มาทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือถึงด่านเก็บค่าผ่านทางดาวคะนอง จากนั้นซ้อนทับบนทางพิเศษเฉลิมมหานครถึงบริเวณถนนพระรามที่ 3 ใกล้ทางแยกต่างระดับบางโคล่ เป็นจุดสิ้นสุดโครงการ ซึ่งเชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาจะก่อสร้างสะพานใหม่ขนาด 8 ช่องจราจร (ทิศทางละ 4 ช่องจราจร) ขนานอยู่ทางด้านทิศใต้ของสะพานพระราม 9 โครงการมีทางขึ้น - ลง 7 แห่ง ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร
    โดยในส่วนพื้นที่ของโครงการฯ สัญญาที่ 1 จะเริ่มจากจุดเริ่มต้นโครงการฯ กม.(ทล)13+000 ไปสิ้นสุดโครงการฯ กม.(ทล)6+630 ซึ่งเป็นระยะทางทั้งหมดประมาณ 6.369 กิโลเมตร

การออกแบบโครงสร้าง
    ส่วนพื้นที่ของโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก สัญญาที่ 1 จะเริ่มจากจุดเริ่มต้นโครงการฯ กม.(ทล)13+000 ไปสิ้นสุดโครงการฯ กม.(ทล)6+630 ซึ่งเป็นระยะทางทั้งหมดประมาณ 6.369 กิโลเมตร
     โดยรูปแบบโครงการเป็นทางยกระดับตามแนวถนนพระรามที่ 2 มี อาคารด่านเก็บเงิน จำนวน 2 จุด ได้แก่
1. ทางขึ้น-ลง แห่งที่ 1 อยู่ที่ กม.11+959.000 บริเวณถนนพระรามที่ 2 ซอย 82 ใกล้กับสถานีตำรวจแสมดำ
2. ทางขึ้น-ลงแห่งที่ 2 อยู่ที่ กม.8+500.000 บริเวณถนนพระรามที่ 2 ซอย 60 ใกล้กับชุมชนการเคหะธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ขอบเขตโครงการ
  • สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ซ้อนทับไปตามแนวเกาะกลางถนนพระราม2 โครงสร้างทางพิเศษเป็นโครงสร้างคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องสำเร็จรูป จุดเริ่มต้นของโครงการฯ คือ กม. 13+000 ของถนนพระราม 2 ถึง กม. 6+600 ของถนนพระราม 2 ระยะทางรวมประมาณ 6.4 กิโลเมตร
  • สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ซ้อนทับไปตามแนวเกาะกลางถนนพระราม 2 โครงสร้างทางพิเศษเป็นโครงสร้างคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องสำเร็จรูปตั้งแต่ กม.6+600 ของถนนพระราม 2 ถึงบริเวณทางแยกต่างระดับดาวคะนอง ระยะทางรวมประมาณ 5.3 กิโลเมตร ปัจจุบัน มีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2564 ร้อยละ 22.52
  • สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรคร่อมตามแนวทางพิเศษเฉลิมมหานครช่วงดาวคะนอง-สุขสวัสดิ์-ราษฎร์บูรณะ โครงสร้างทางพิเศษเป็นโครงสร้างคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องสำเร็จรูประยะทางรวมประมาณ 5 กิโลเมตร
  • สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจรและก่อสร้างสะพานขึง (Cable-Stayed Bridge) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ขนาด 8 ช่องจราจร มีความยาวช่วงสะพาน 450 เมตร สิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบางโคล่ ระยะทางรวมประมาณ 2 กิโลเมตร ส่วนของสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามีความยาวสะพานประมาณ 780 เมตร ช่วงโครงสร้างสะพานส่วนต่อเชื่อม (Approach Bridge) มีรูปแบบเป็นคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง ช่วงโครงสร้างพื้นสะพานเป็นแบบ Concrete – Steel Composite Deck ปัจจุบัน มีก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2564 ร้อยละ 53.53
  • สัญญาที่ 5 งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจร และระบบสื่อสาร อยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานจ้างก่อสร้าง


รายละเอียดโครงการ

เริ่มสัญญา วันที่ 10 มกราคม 2565
สิ้นสุดสัญญา วันที่ 25 ตุลาคม 2567
ระยะเวลา 1,020 วัน
ผู้ว่าจ้าง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง บริษัท เอพซีลอน จำกัด
  บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
  บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด
  บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด
ผู้รับจ้าง กิจการร่วมค้า ยูเอ็น-ซีซี
   
   
Copyright © 2564. Developer By Neediss Co.Ltd.